วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

~•การนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่มาใช้ในการดำเนินชีวิต•~


หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสรับสั่งแนะแนวทางการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง นับเนื่องมาจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลาหลายปีแล้ว วิกฤตการณ์เศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงอยู่ สมควรที่พวกเราได้ทบทวนพระราชกระแสกันอีกสักครั้ง เพื่อให้พวกเราได้ “ใจดี สู้เสือ” กันต่อไป เพื่อนำให้ตัวเราและชาติบ้านเมืองได้ผ่านมรสุมร้ายที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ด้วยสติที่มั่นคง ปัญญาที่เฉียบแหลม และด้วยความรู้ ความเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิตของพวกเราชาวไทยให้ยึดมั่นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างและยึดมั่นวิถีชีวิตไทย อันนำมาสู่พวกเราชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่อไปชั่วกาลนาน

ความหมาย : เศรษฐกิจพอเพียง หรือ ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้

- เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
- เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด - หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรง

หลักการพึ่งตนเอง อาจจะแยกแยะโดยยึดหลักสำคัญอยู่ 5 ประการ คือ

1. ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประณีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2. ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง เป็นอิสระ
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด พร้อมทั้งหาทางเพิ่มมูลค่า โดยให้ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน
4. ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดีและไม่ดีเราต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและ เลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพแวดล้อม และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
5. ด้านเศรษฐกิจ แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งที่การลดรายจ่าย ในเวลาเช่นนี้จะต้องปรับทิศทางใหม่ คือ จะต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อน เป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้

ได้มีพระราชกระแสด้วยว่า “...หากพวกเราร่วมมือร่วมใจกันทำสัก 1/4 ประเทศชาติของเราก็สามารถรอดพ้นจากวิกฤติได้...”
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541 ที่ผ่านมา ได้พระราชทานพระราชดำรัสเพิ่มเติมในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
“...คำว่าพอเพียงมีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอใช้สำหรับใช้ของตัวเอง มีความหมายว่าพอมีพอกิน...พอมีพอกินนี้ ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง...”
“...ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำสมควรที่จะปฏิบัติ...”
“...Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...”
“...คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...”

ปัญหาที่ถาโถมสู่ไทยอย่างรวดเร็ว

1. ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเกิดภาวะผันผวนอย่างรุนแรง ทำให้การลงทุนสะดุดหยุดชะงัก เกิดภาวะว่างงานขึ้นทั่วประเทศอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน มีจำนวนเป็นแสนเป็นล้านคน
2. แผนพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมา มุ่งเน้นความเจริญทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) เป็นหลักสำคัญ จึงทุ่มเทขยายการผลิตไปในด้านอุตสาหกรรมมากกว่าด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการผลิตที่เน้นวัฒนธรรมประจำชาติมาแต่ครั้งอดีต
3. ไทยตกอยู่ภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ทำให้คนไทยหลงกระแส เกิดความเชื่อว่า ของสากล หรือของฝรั่งเป็นของดี จนหลงลืมพื้นฐาน ทุนสังคม สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตไทยของตนเอง มุ่งเข้าเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ตลอดจนเปิดเสรีตามแฟชั่น โดยเฉพาะด้านการเงินการคลัง โดยปราศจากความพร้อมใด ๆ ไม่ว่าด้านบริหาร ด้านกฎหมาย ฯลฯ และปราศจากความเข้าใจในสาระที่เป็นหลักสำคัญของเรื่องต่างๆ ในสังคม เช่น ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสภาวะ “หลง-โลภ-โง่-โกง-กัด” เกิดขึ้นในสังคม และครอบงำชีวิตประจำวันของคนไทย
4. ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นครั้งนี้ รุนแรงและรวดเร็วเกินกว่าที่ภาครัฐบาลและภาคเอกชนจะตั้งรับได้ทัน และมิได้มีแผนรองรับการล้มระเนระนาดทางเศรษฐกิจ ในลักษณะเช่นนี้มาก่อน
5. ทิศทางของการดำรงชีพอยู่อย่างประคองตัว เพื่อลุกขึ้นยืนหยัดด้วยลำแข้งของตนเอง ด้วยวิธีการแบบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกว่า “เศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง” (Relative Self-Sufficient Economy) จึงเป็นรูปแบบหนึ่งที่ประชาชนคนไทยทั้งมวลควรน้อมเกล้า ฯ ไว้ปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้รอดพ้นจากภัยหายนะทางเศรษฐกิจครั้งนี้อย่างปลอดภัย
6. เมื่อค้นพบการดำรงชีพ “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” แล้วควรมุ่งสู่มาตรฐาน “พออยู่ พอกิน” ตามพระราชดำริด้วยจึงจะพัฒนาและพึ่งตนเองได้เพิ่มขึ้นในอนาคต

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า “...ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง...”
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า “...ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ชอบเป็นหลักสำคัญ...”
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า “...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น...”
4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า “...การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกิน เป็นขั้นหนึ่งและขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตนเอง...”
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาท ว่า “...พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลดพยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น...”

แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพออยู่พอกินจะช่วยแก้ไขวิกฤตทางเศรษฐกิจ และปัญหาทางสังคมของไทยในขณะนี้ได้อย่างไร

ทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในขณะนี้ คือ จะต้องช่วยให้ประชาชนที่อยู่ในภาคเกษตรและที่กลับคืนสู่ภาคเกษตรมีงานทำ มีรายได้ ในขณะเดียวกันก็จะต้องสร้างรากฐานของชนบทให้แข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว

แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงสำหรับเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ
ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย
ขั้นที่สอง รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ฯลฯ
ขั้นที่สาม สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ
ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการ ในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการ และข่าวสารข้อมูล

นัยสำคัญของแนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือหลักการที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” โดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรกเมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้ว จึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมา ผลผลิตส่วนเกินที่ออกสู่ตลาดก็จะเป็นกำไรของเกษตรกร ในสภาพการณ์เช่นนี้เกษตรกรจะกลายสถานะเป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้กระทำต่อตลาด แทนที่ว่าตลาดจะเป็นตัวกระทำหรือเป็นตัวกำหนดเกษตรกรดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และหลักใหญ่สำคัญยิ่ง คือ การลดค่าใช้จ่าย โดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง เช่น ข้าว น้ำ ปลา ไก่ ไม้ผล พืชผัก ฯลฯ
ประการที่สอง เศรษฐกิจแบบพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชาวบ้านจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้หลากหลาย ครอบคลุมทั้งการเกษตรแบบผสมผสาน หัตถกรรมการแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจค้าขาย และการท่องเที่ยวระดับชุมชน ฯลฯ เมื่อองค์กรชาวบ้านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง และมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นแล้วเกษตรกรทั้งหมดในชุมชนก็จะได้รับการดูแลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็จะสามารถเติบโตไปได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจสามารถขยายตัวไปพร้อม ๆ กับสภาวการณ์ด้านการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น
ประการที่สาม เศรษฐกิจแบบพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงมิได้หมายถึง รายได้แต่เพียงมิติเดียว หากแต่ยังรวมถึงประโยชน์ในมิติอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน ความสามารถในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ตลอดไป

กล่าวโดยสรุป คือ แนวคิดของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่มีสาระสำคัญดังกล่าวข้างต้นนั้น น่าจะนำมาใช้เป็นแบบอย่างของการพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไป แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้อาจจะเป็น
สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แต่ผลกระทบต่าง ๆ จะไม่รุนแรงมากนักถ้าหากทุกภาคส่วนของสังคมมีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยยึดหลักความพอดีกับศักยภาพของตนเอง บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งมีความเอื้ออาทรต่อคนอื่น ๆ ในสังคมเป็นประการสำคัญ ถึงแม้ว่าข้อคิดทั้งหมดจะมุ่งเน้นไปสู่กลุ่มเกษตรกร หรือผู้มีที่ดินทั้งหลาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องกลับไปสู่ภาคเกษตรหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในสภาพความเป็นจริง สำหรับคนอยู่นอกภาคการเกษตรนั้น เศรษฐกิจพอเพียงก็จะต้องถูกนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา เป็นแนวปฏิบัติตน ไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรม อาชีพใด ก็ต้องยึดวิถีชีวิตไทย อยู่แต่พอดี อย่าฟุ่มเฟือยอย่างไร้ประโยชน์ อย่ายึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ยึดเส้นทางสายกลาง อยู่กินตามฐานะ ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต จำเริญเติบโต อย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าใช้หลักการลงทุนเชิงการพนัน ซึ่งตั้งอยู่บนความเสี่ยง กู้เงินมาลงทุนโดยหวังรวยอย่างรวดเร็ว แล้วก็ไปสู่ความล้มละลายในที่สุด ตั้งอยู่บนหลักของ “รู้รักสามัคคี” ใช้สติปัญญาปกป้องตนเองไม่ให้หลงกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยไม่รู้ถึงเหตุและผลตาม สภาพแวดล้อมของไทย ให้รู้จัก แยกแยะสิ่งดี สิ่งเลว สิ่งที่เป็นประโยชน์ ตามสภาพความเป็นจริงของบ้านเมืองของเราเป็นที่ตั้ง ให้มีความรัก ความเมตตา ที่จะช่วยเหลือสังคมให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ และรวมพลังกันด้วยความสามัคคีเป็นหมู่เหล่า ขจัดข้อขัดแย้งไปสู่ความประนีประนอม รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

เศรฐกิจพอเพียง คือ การดำรงชีวิตในความพอดี มีชีวิตใหม่ คือ หวนกลับมาใช้วิถีชีวิตไทยจะทำให้ชาติบ้านเมืองและตัวเราหลุดพ้นจากความทุกข์และมีความสุขในที่สุด

~•วิถีไทย•~



วิถีไทย หมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย วิถีไทย จึงเป็นแหล่งรวมความรู้เรื่องสังคม วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาของคนไทย การประพฤติ ปฏิบัติ การศึกษาอบรม และการสืบทอดวัฒนธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

~•การส่งเสริมสุขภาพ•~


การส่งเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนเรามีความสามารถในการควบคุมดูแลให้สุขภาพตนเองดีขึ้นสุขภาพเป็นคำที่มีความหมายทางบวกเน้นหนักที่ทรัพยากรบุคคลและสังคม เช่นเดียวกันกับสมรรถนะต่างๆ ของร่างกายดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพจึงมิใช่ความรับผิดชอบขององค์กรในภาค
หากเกินความนอกเหนือลีลาชีวิตอย่างมีสุขภาพดีไปสู่เรื่องของสุขภาวะโดยรวม ทั้งนี้ปัจจัยเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย
•  สร้างนโยบายสาธารณะเอื้อต่อสุขภาพ
•  สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่หนุนสร้างสุขภาพดี
•  เสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง
•  พัฒนาทักษะส่วนบุคคลเพื่อสุขภาพดี
•  ปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ
การสร้างเสริมสุขภาพ จึงเป็นยุทธวิธีใหม่ที่จะต่อสู้กับปัญหาที่มาในรูปแบบใหม่นี้ และเป็นยุทธวิธีในเชิงรุกที่จะให้ผลในการแก้ปัญหาสุขภาพได้ดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นการลงทุนที่ต่ำมากเมื่อเปรียบกับการลงทุนทางการแพทย์และที่สำคัญก็คือ การสร้างเสริมสุขภาพเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ใช่ เป็นเพียงกระบวนการ ป้องกัน ดังที่เข้าใจกันเท่านั้น ยังเป็นขบวนการที่นำมาใช้เพื่อการขจัดและหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ ดังนั้นสรุปความหมายโดยภาพรวมของการสร้างเสริมสุขภาพก็คือ กระบวนการในการป้องกัน กำจัดและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มนุษย์ต้องเสียชีวิตก่อนถึงวัยอันควร

วิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ
1. ออกกำลังกายทุกๆ วัน วันละ 20นาที
2. เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5หมู่
ไม่รับประทานอาหารดิบ
3. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้ยาเสพย์ติด
4. มีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม
5. ฉีดวัคซีนที่แพทย์แนะนำ และพบแพทย์ เป็นระยะๆ
6. การบริหารความเครียด ส่งเสริม สุขภาพจิต และฝึกสมาธิ

~•การบำเพ็ญประโยชน์•~



การบำเพ็ญประโยชน์ คือ ช่วยเหลือรับใช้ทำงานสร้างสรรค์การที่เป็นประโยชน์ หมายความว่า บำเพ็ญตนให้เป็นคนมีประโยชน์ต่อผู้อื่น โดยที่ฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ ตั้งตัวได้ตามควรแก่วัยนั้นๆ แล้ว จ่ายกำลังความรู้ ความสามารถ กำลังกายและกำลังทรัพย์ ออกไปช่วยผู้อื่นตามสมควรแก่โอกาส เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีอันน่ารัก น่านับถือ เช่นเมื่อมีภัยต่างๆ เกิดขึ้นแก่พี่น้องประชาชนชาวไทยหรือชาวโลก ก็ไม่นิ่งดูดาย ต้องขวนขวายช่วยเหลือตามควรแก่กรณี อย่างเลิศหมายถึง การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง (สัทธาสัมปทา) ให้ประพฤติดีงาม (สีลสัมปทา) ให้มีความเสียสละ (จาคสัมปทา) และให้มีปัญญา (ปัญญาสัมปทา)…..@

หลักธรรมในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
๑. การแบ่งปัน การแบ่งปัน เป็นการเสียสละสิ่งของหรือทรัพย์ของตนให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนหรือต้องการความช่วยเหลือ การแบ่งปันเป็นคุณธรรมที่ช่วยให้เราขจัดความเห็นแก่ตัวออกจากตนเอง และทำให้คนเราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข เช่น เมื่อเพื่อนลืมเอาอุปกรณ์การเรียนมา เรามีหลายอันก็แบ่งให้เพื่อนใช้ หรือบริจาคเสื้อผ้าหรือของเล่นของเราที่อยู่ในสภาพดีแต่เราไม่ได้ใช้แล้วให้กับเด็กยากจน เป็นต้น

๒. การบำเพ็ญประโยชน์ การบำเพ็ญประโยชน์ เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นหรือส่วนรวม เป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อให้ผู้อื่นหรือส่วนรวมมีความสุข แสดงถึงความรับผิดชอบในฐานะที่เราเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม การบำเพ็ญประโยชน์สามารถทำได้หลายวิธีตามโอกาสอันควร และควรปฏิบัติอยู่ตลอดเวลาจนเป็นนิสัย เช่น การช่วยเหลืองานโรงเรียน ช่วยทำความสะอาดสถานที่ที่เป็นของส่วนรวม

~•การรักษาสิ่งแวดล้อม•~


วิธีรักษาสิ่งแวดล้อมง่ายๆ
1.รักษาสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นที่ใกล้ตัว ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น เราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจนถึงพื้นที่ป่าใหญ่ เพื่อปลูกป่า แต่เราสามารถเริ่มต้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายได้ในพื้นที่ใกล้บ้านเราเอง
2. ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ประหยัดถุงพลาสติกได้โดยการใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หากถุงพลาสติกสกปรก ก็ให้ทำความสะอาดแล้วแขวนไว้ให้แห้ง เพื่อส่งกลับเข้าโรงงานสำหรับผลิตใหม่
3. แยกทิ้งเศษกระดาษจากขยะอื่น โปรดหลีกเลี่ยงการทิ้งเศษกระดาษลงในถังกับขยะอื่น ๆ เพราะจะทำให้กระดาษเปรอะเปื้อนไขมัน และเศษอาหารจะทำให้เศษกระดาษนั้นนำไปผลิตใหม่อีกไม่ได้
4. ใช้ผ้าแทนกระดาษทิชชู  เราใช้กระดาษทิชชูเช็ดมือ เช็ดหน้า ปีละหลายล้านฟุต ซึ่งหมายถึง การโค่นต้นไม้ลงจำนวนมหาศาล ช่วยกันลดการใช้กระดาษทิชชูด้วยการวางผ้ามือไว้ใกล้อ่างล้างมือ แล้วใช้ผ้าเช็ดโต๊ะแทนการใช้กระดาษทิชชู่
5. หนังสือพิมพ์สามารถแก้ไขปัญหา ขยะกระดาษ แหล่งสร้างขยะกระดาษที่สำคัญก็คือหนังสือพิมพ์ หน้าที่เป็นขยะกระดาษโดย ผู้อ่านไม่ได้อ่าน ก็คือหน้าโฆษณาธุรกิจ ซึ่งมีอยู่ฉบับละหลาย ๆ หน้า ซึ่งแม้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหนังสือพิมพ์ แต่ ควรคำนึงว่า นั่นคือ การทำลายกระดาษสะอาด และสร้างขยะกระดาษให้เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน
6. พลาสติกรีไซเคิล ปัจจุบันมีบริษัทกว่า 200 แห่ง ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกได้ทำการรีไซเคิลพลาสติก จำนวน 20% จากขวดเครื่องดื่ม  พลาสติกที่ทำจาก Polyethylene Terephthalate หรือ PET จะถูกนำไปรีไซเคิล เป็นด้ามเครื่องจับไฟฟ้า กระเบื้องปูพื้น เส้นใยสังเคราะห์ในหมอน หรือใช้บุเสื้อแจ็คเก็ต
7. วิธีเก็บกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้ว นำกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาบี้ให้แบนก่อนทิ้ง หรือขายแก่คนรับซื้อ
8. น้ำสะอาดมาจากน้ำใต้ดิน น้ำสะอาดที่เราใช้ประโยชน์ดื่มกิน ส่วนใหญ่ มาจากน้ำใต้ดิน การทิ้งขยะบนพื้นผิวดินทำให้มีผลถึงน้ำใต้ดิน เพราะน้ำฝนจะชะความเป็นพิษและความโสโครกให้ซึมลงไปถึงชั้นน้ำใต้ดินทำให้น้ำใต้ดินเน่าเสียและเป็นพิษได้
9. วิธีล้างรถยนต์ ล้างรถยนต์ด้วย ฟองน้ำ และใช้ถังน้ำจะใช้น้ำเพียง 15 แกลลอน แต่ถ้าล้างด้วยสายยางจะต้องสูญเสียน้ำถึง150 แกลลอน
10. ปลูกต้นไม้ในห้องช่วยลดมลพิษ ปลูกต้นไม้ในห้อง โดยปลูกไม้กระถางผสมถ่านกับดิน ถ่านจะเป็นตัวช่วยดูดซับสารมลพิษและจุลินทรีย์ภายในห้องได้
11. วิธีใช้น้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน มีสารเคมีมากกว่า 63 ชนิด ที่ใช้เป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน เช่น น้ำยาถูพื้น น้ำยาขัดห้องน้ำ โปรดอ่านคำแนะนำในฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเองให้พ้นจากพิษภัยอันตราย
12. ผักปลอดสารพิษ เมื่อใดก็ตามที่ได้ลงมือทำสวนครัวด้วยตนเอง เมื่อนั้นเราจึงจะเชื่อมั่นได้อย่างแน่นอนว่าเรากำลังมีโอกาสได้กินพืชผักที่ปลอดจากยาฆ่าแมลงแล้วจริงๆ 
13. ดื่มน้ำสะอาดให้หมดแก้ว ดื่มน้ำสะอาดให้หมดแก้วทุกครั้งอย่าเหลือทิ้ง เพราะน้ำสะอาดมีเหลืออยู่น้อยในโลกนี้ และกระบวนการทำน้ำให้สะอาดก็ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา
14. การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ทำได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำผสมสบู่ บิดให้หมาดแล้วใช้เช็ดถูเฟอร์นิเจอร์ จากนั้นใช้ผ้าแห้งซ้ำอีกครั้ง
15. หลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงาน การใช้หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน 1 หลอด แทนการใช้หลอดไฟฟ้าแบบฟลูออเรสเซนต์ จะช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นปริมาณเท่ากับ ถ่านหินหนัก 600 ปอนด์ ตลอดชั่วอายุของหลอดไฟฟ้าตลอดนั้น

~•การส่งเสริมการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมอันดีของไทย•~


ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่คนกลุ่มหนึ่งกำหนดถือเป็นแบบแผน
กันมาอย่างเดียวกันปฏิบัติสืบเนื่องกันมาช้านานจนเป็นลักษณะเฉพาะของคนกลุ่มนั้นและยอมรับ
ในสังคมมาจนถึงปัจจุบัน จำแนกออกได้ดังนี้
1. จารีตประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรมซึ่งมีค่าแก่ส่วนรวม เช่น ลูกต้องเลี้ยง
ดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าไม่เลี้ยงดูถือว่าเนรคุณหรืออกตัญญูต่อพ่อแม่ คำว่าจารีตนี้ ภาคอีสาน
เรียกว่าฮีต ถ้าทำผิดประเพณีเรียกว่าผิดฮีต
2. ขนบประเพณี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบประเพณี ขนบ แปลว่า ระเบียบ
แบบแผน เป็นประเพณีที่วางระเบียบพิธีการไว้ชัดแจ้ง หรือรู้กันเองและไม่ได้วางระเบียบ
แบบแผนไว้ว่าควรประพฤติ ปฏิบัติอย่างไร ได้แก่ บวชนาค แต่งงาน พิธีศพ รวมทั้งเทศกาลต่าง ๆ
เช่น ตรุษ สารท ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การไหว้ครู เป็นต้น
3. ธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญไม่มีผิดถูกเหมือนจารีต
ประเพณี หรือไม่มีระเบียบแบบแผนอย่างขนบประเพณี ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ผิดอย่างไร แต่อาจ
ถูกตำหนิว่าเปน็ คนขาดการศึกษาหรือไม่มีมารยาท ไดแ้ ก่ เรื่องเกี่ยวกับอิริยาบถทั้ง 4 ยืน เดิน นั่ง
นอน การพูดจา มารยาทสังคม การแสดงความเคารพ เช่น เวลาเดินผ่านผู้ใหญ่ควรก้มหลังเล็กน้อย
หรือไม่ควรพูดข้ามศีรษะผู้อื่น การแต่งกายควรให้ถูกกาลเทศะ เป็นต้น

พลเมืองดีย่อมเป็นที่ต้องการของสังคมทุกสังคม สถาบัน และสถานนะของตนเอง ดังนั้น พลเมืองดีจึงต้องได้รับการปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม ดังนี้        
1. สถาบันทางสังคมทุกสถาบัน โดยเฉพาะสังคมแรก คือ ครอบครัว ต้องอบรมให้คนไทยมีสัมมาคารวะต่ออาวุโส มีความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต ตรงต่อเวลา เป็นต้น        
2. ต้องปฏิบัติตนตามหน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองไทย ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ        
3. สอนให้เยาวชนรู้จักและปฏิบัติตนตามสถานภาพและบทบาทของตนเองโดยมีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพกฎหมาย ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม