วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

~•การส่งเสริมการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมอันดีของไทย•~


ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่คนกลุ่มหนึ่งกำหนดถือเป็นแบบแผน
กันมาอย่างเดียวกันปฏิบัติสืบเนื่องกันมาช้านานจนเป็นลักษณะเฉพาะของคนกลุ่มนั้นและยอมรับ
ในสังคมมาจนถึงปัจจุบัน จำแนกออกได้ดังนี้
1. จารีตประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรมซึ่งมีค่าแก่ส่วนรวม เช่น ลูกต้องเลี้ยง
ดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าไม่เลี้ยงดูถือว่าเนรคุณหรืออกตัญญูต่อพ่อแม่ คำว่าจารีตนี้ ภาคอีสาน
เรียกว่าฮีต ถ้าทำผิดประเพณีเรียกว่าผิดฮีต
2. ขนบประเพณี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบประเพณี ขนบ แปลว่า ระเบียบ
แบบแผน เป็นประเพณีที่วางระเบียบพิธีการไว้ชัดแจ้ง หรือรู้กันเองและไม่ได้วางระเบียบ
แบบแผนไว้ว่าควรประพฤติ ปฏิบัติอย่างไร ได้แก่ บวชนาค แต่งงาน พิธีศพ รวมทั้งเทศกาลต่าง ๆ
เช่น ตรุษ สารท ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การไหว้ครู เป็นต้น
3. ธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญไม่มีผิดถูกเหมือนจารีต
ประเพณี หรือไม่มีระเบียบแบบแผนอย่างขนบประเพณี ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ผิดอย่างไร แต่อาจ
ถูกตำหนิว่าเปน็ คนขาดการศึกษาหรือไม่มีมารยาท ไดแ้ ก่ เรื่องเกี่ยวกับอิริยาบถทั้ง 4 ยืน เดิน นั่ง
นอน การพูดจา มารยาทสังคม การแสดงความเคารพ เช่น เวลาเดินผ่านผู้ใหญ่ควรก้มหลังเล็กน้อย
หรือไม่ควรพูดข้ามศีรษะผู้อื่น การแต่งกายควรให้ถูกกาลเทศะ เป็นต้น

พลเมืองดีย่อมเป็นที่ต้องการของสังคมทุกสังคม สถาบัน และสถานนะของตนเอง ดังนั้น พลเมืองดีจึงต้องได้รับการปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม ดังนี้        
1. สถาบันทางสังคมทุกสถาบัน โดยเฉพาะสังคมแรก คือ ครอบครัว ต้องอบรมให้คนไทยมีสัมมาคารวะต่ออาวุโส มีความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต ตรงต่อเวลา เป็นต้น        
2. ต้องปฏิบัติตนตามหน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองไทย ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ        
3. สอนให้เยาวชนรู้จักและปฏิบัติตนตามสถานภาพและบทบาทของตนเองโดยมีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพกฎหมาย ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น